autisticchild

เด็กออทิสติกและเด็กออทิสซึม ต่างกันยังไง

หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า ออทิสซึม และ ออทิสติก ต้องบอกว่าทั้งสองอย่างนี้ คือ ชื่อของโรคที่มีความหมายเดียวกัน สำหรับโรคนี้จัดได้เป็น โรคไร้ความสามารถที่มีลักษณะที่หลากหลายเลยก็ว่าได้

การแสดงออกมาของเด็กหรือผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนี้นั้นมีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน มีพฤติกรรมของรูปแบบที่เรียกได้ว่ากว้างขวางเป็นอย่างมาก เด็กที่มีพัฒนาการทางออทิสซึมที่ผิดปกตินั้น จะมีการแสดงออกทางสติปัญญาอย่างยากลำบาก ทั้งในส่วนของ การมีปฏิสัมพันธ์ในสังคม การสื่อสารรูปแบบต่างๆ ทั้งในด้านของ อวัจนภาษาและวัจนภาษา การมีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ กับเรื่องเดิมๆ การมีพฤติกรรมในเรื่องของการควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ซึ่งถึงแม้ว่าเด็กที่มีสภาวะออทิสติกจะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป แต่ก็ควรที่จะต้องจดจำสัญญาณและอาการต่างๆ ไว้เพื่อที่จะได้ดูแลและช่วยเหลือบุตรที่มีสภาวะนี้ได้อย่างเต็มที่

autisticchild

สำหรับเด็กที่เป็นออทิสซึม หรือ ออทิสติกนั้น การแสดงพฤติกรรมซ้ำ จะมีหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การยกตัวไปมา การกระโดด มีการทำกิจวัตรประจำวันแบบเดิมๆ มีการให้ความสนใจกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากจนเกินไป แต่เด็กแต่ละคนนั้นก็จะมีระบบประสาทสัมผัสที่แตกต่างกันอาจจะมากเกินไป หรือว่า น้อยเกินไป ขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคนด้วย ในบางรายอาจจะทนกับความเจ็บปวดได้มากหรือน้อยกว่าปกติ มีปัญหาด้านการนอน มีความหุนหันพลันแล่นไฮเปอร์มากกว่าเด็กปกติ ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน อาการเหล่านี้สามารถที่จะสังเกตได้ตั้งแต่ในช่วง 3 ปีแรก ของเด็ก

ในปัจจุบันนั้นยังไม่อาจสาเหตุที่แน่นอนของภาวะออทิสซึมได้ แต่จากการศึกษาค้นคว้าต่างๆ มีรายงานว่า อาจเกิดจากการที่ระบบประสาทและสมองนั้นมีสารสื่อประสาทในบางตัวที่มีความผิดปกติ ในเรื่องของการประมวลผล รวมไปถึงเรื่องของการบูรณาการด้านประสาทสัมผัส ทำให้เด็กนั้นมีการแสดงออกที่ผิดปกติ ในด้านของพันธุกรรมเองก็มีส่วน โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นภาวะออทิสติก ที่จะทำให้เด็กเกิดภาวะนี้ขึ้น เด็กผู้ชายนั้นมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงที่จะเป็นมากกว่าเด็กผู้หญิง อีกทั้งยังไม่มียาหรือการรักษาใดที่ทำให้เด็กนั้นหายขาดจากสภาวะของโรคนี้ได้

autisticchild

อาการและพฤติกรรมของเด็กหรือผู้ใหญ่ที่สามารถบ่งบอกได้ว่าเป็นโรคออทิสตึก

ไม่มีการชี้สิ่งของ หรือชี้ชวนให้ทำร่วมด้วย

สูญเสียความสามารถในเรื่องของการสื่อสาร อย่างเช่น การพูด ฯลฯ

มีความสนใจผู้คน แต่ไม่รู้จักวิธีการคุยหรือเล่น

มีการปรับตัวที่ยากในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อ กลิ่น รส เสียง และการสัมผัส ที่สูงผิดปกติ

มีการหมกมุ่นหรือทำกิจกรรมรวมไปถึงการแสดงออกแบบเดิมๆ ซ้ำๆ

มีการพูดตามในทันที หรือ จำคำพูด ในวลีหรือประโยคที่ตัวเองได้รับมา มาพูดแทนรูปแบบปกติ

สนใจเสียงของสิ่งรอบข้างได้ง่ายกว่าสิ่งที่คนอื่นกำลังพูด

การตอบสนองต่ำ ในการที่มีผู้อื่นมาพูดคุยด้วย

ไม่ชอบให้มีการสัมผัสโดนตัวโดยเฉพาะกาลอุมหรือกอด จะแสดงออกต่อเมื่อตัวเองต้องการ

ไม่เข้าใจในความรู้สึกของผู้อื่น ยากที่จะเข้าใจ รวมไปถึงความรู้สึกของตัวเองเลยมักจะจัดการความรู้สึกของตัวเอง

ได้ค่อนข้างยาก

ไม่ชอบการอยู่คนเดียวและเลี่ยงการสบตาแทบจะตลอดเวลา

แทบจะไม่สนใจผู้อื่น หรือ สร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้ค่อนข้างยาก

ไม่มองตามเมื่อผู้อื่นชี้ให้ดู

ไม่มีการเล่นบทบาทสมมุติ หรืออาจจะมีการเล่นที่ไม่ซับซ้อนหากเทียบกับพัฒนาการตามวัยที่ควรจะเป็น

หากลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่นั้นมีแนวโน้ม หรือสงสัยว่าจะอยู่ในสภาวะ ออิทิสซึม หรือ ออทิสติก หรือไม่ ไม่ควรที่จะละเลย หรือนิ่งนอนใจ ควรไปพบแพทย์ด้านพัฒนาการเด็กหรือจิตเวชเด็ก เพื่อที่จะทำการตรวจหาหรือวินิจฉัยซึ่งในการตรวจเพื่อวินิจฉัยนั้นอาจจะต้องคอยสังเกตพฤติกรรมของเด็กมากเป็นปีได้เลย ในกรณีของเด็กบางคน

สำหรับภาวะของโรคนี้ยังไม่สามารถที่จะตรวจหาภายในครรภ์หรือหลังจากคลอดบุตรออกมาได้ในทันทีเหมือนกับเด็กที่เป็นโรคดาวน์ซินโดรมดังนั้นจึงต้องอาศัยการสังเกตและวินิจฉัยตามติดอาการของแพทย์